ยินดีต้อนรับ ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ ***BE HAPPY AND GOOD LUCK FOR YOU***

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แนวข้อสอบ ECT1001 (ET201) นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

แนวข้อสอบ ECT1001 (ET201) นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
สรุปเนื้อหา ET201 นำมาจากของ คุณตุ้ยนุ้ย  (http://tuinui.212cafe.com/archive/)
ในส่วนนี้เป็นการสรุปเนื้อหาจากการบรรยายนะครับ ดูไว้เป็นแนวทางสำหรับคนที่ไม่ได้เข้าเรียน หรือต้องการสรุปครับ นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองจาก


  1. หนังสือเรียน ซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือราม
  2. เทปวิดิโอคำบรรยายย้อนหลัง จากเว็บ www.ru.ac.th เลือกตรงสื่อการสอน แล้วเลือกคำบรรยายย้อนหลัง เลือกส่วนกลาง จากนั้นเลือกหาวิชาที่ต้องการได้เลย มีหลายวิชา เหมาะสำหรับคนทำงาน ไม่มีเวลาเข้าเรียนเป็นอย่างมาก
  3. ชีทหน้าราม มีทั้งข้อสอบและสรุป ไว้อ่านเพิ่มเติม อันนี้ต้องบอกก่อนเลยว่าไม่จำเป็นสำหรับคนที่ชอบอ่านหนังสือ เพราะเขาก็เอามาจากหนังสือเรียนแหละครับ เอามาย่อๆ เนื้อหาก็น้อย บางทีอ่านไม่เข้าใจ (ฉะนั้นชีทสรุปไม่ค่อยจำเป็น) แต่ในส่วนของข้อสอบเทอมเก่าๆ น่าจะซื้อมาลองทำดูนะครับ จะได้ฝึกทำ เคยชินกับตัวข้อสอบ ได้จับเวลาในการทำ ได้ทบทวนความรู้เราด้วย แต่ต้องระวังเฉลยผิดนะครับ ซึ่งพอมีบ้างในบางวิชา ดังนั้น ควรอ่านหนังสือให้เข้าใจก่อน ค่อยมาทำข้อสอบ แล้วค่อยตรวจสอบคำตอบจากหนังสืออีกครั้งนะครับ
  4. ดูถ่ายทอดการเรียนสดๆ เข้าจากเว็บของมหาวิทยาลัยเลย แถบสื่อการสอน ทีนี้จะอยู่บ้านนั่งดู หรือทำอย่างอื่นไปดูไปก็ได้ แต่ต้องระวังสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วยทั้งของเราเอง และสัญญาจากมหาวิทยาลัยที่มักจะไม่ค่อยชัดนัก
  5. หาเวลาเข้าเรียนบ้างก็ดีจะได้เจออาจารย์ เจอเพื่อนด้วย ^_^


ET201 ครั้งที่ 1 (04/06/2552)
1.   เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการประยุกต์ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลผลิตทางวิศวกรรมศาสตร์ (อุปกรณ์) โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านการบริหาร ด้านวิชาการ (การเรียนการสอน) และด้านบริการ
2.  วัสดุ (materials) หมายถึง ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะสิ้นเปลือง หรือผุพังได้ เช่น Software, CD, DVD, ฟิลม์, ปากกา, ดินสอ, กระดาษ เป็นต้น
3.   อุปกรณ์ (equipment) หมายถึง ผลผลิตทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นเครื่องมือต่างๆ เช่น LCD, Visualizer, Overhead, เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องเสียง, เครื่องฉาย เป็นต้น
4.   วิธีการ (techniques) หมายถึง ระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา สังคมวิทยา การสื่อความหมาย ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น เกม การสาธิต การทดลอง กระบวนการทดลอง กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
5.   ทฤษฎีการสื่อสาร   SMCR :    S = Source/Sender,  M = Message, C = Channel,      
      R  =  Receiver
6.    .jpeg = Joint Photographic Experts Group
.mpeg = Moving Picture Experts Group
.gif = Graphics Interchange Format
7.   ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)


ET201 ครั้งที่ 2 (11/06/2552)
1. อ. เกื้อกูล คุปรัตน์และคณะ ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลผลิตทางวิศวกรรมศาสตร์ (อุปกรณ์) โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น
2. นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธีการปฏิบัติ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แล้วแปลกไปจากเดิม หรือมีการปรับปรุงของเก่าขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่หรือปรับปรุงใหม่นี้ได้ผ่านการทดลอง การวิจัย หรือพิสูจน์ และพัฒนามาจนเชื่อได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบงานนั้นๆ บรรลุเป้าหมาย หรือ ก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพ
3.  ขอบข่ายงานนวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้กันในปัจจุบัน มี 6 ประเภท
3.1  งานนวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น ระบบการสอนทางไกล, ระบบการศึกษา
รายบุคคล
            3.2  งานนวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์จัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร, การใช้ทฤษฎีจัดระบบบริหาร
            3.3  งานนวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรการศึกษาแบบบูรณาการ, หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
            3.4   งานนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ (team teaching), การสอนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป (programmed instruction)
            3.5  งานนวัตกรรมด้านสื่อและเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), วีดิทัศน์
            3.6   งานนวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา เช่น การวัดผลแบบอิงเกณฑ์, การวัดผลแบบอิงกลุ่ม
4.  ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเชื่อมโยง (Associative Theory) เน้นความสำคัญของสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus and Response)
5.   ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้วางทฤษฎีประสบการณ์ (Theory of experience) เขาเชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้นโดยการกระทำ (Learning by doing) ในการเรียนการสอนครูจึงควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
6.  เพียเจย์ (Jean Piaget) เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด (Piaget’s Cognitive Development Theory) เขาเชื่อว่าการพัฒนาทางความคิดและสติปัญญาก็คือ การที่คนเราปะทะ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อม (ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (adaptation) การปรับปรุงเหล่านี้จะมีกระบวนการที่สำคัญ 2 อย่าง คือ กระบวนการดูดซึม (Assimitation) และการปรับความแตกต่างเพื่อให้เข้าใจ แล้วนำมาสัมพันธ์กับความรู้เดิม (Accomodation)ทฤษฎีของเพียเจย์นี้เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กทุกวัย
7.   สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำซึ่งมีชื่อเรียกว่า Skinner’s Operant Conditioning เขาเชื่อว่า พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์เกิดขึ้นจากการเสริมแรงและผลการตอบสนอง เขาได้นำแนวคิดนี้มาสร้างสื่อการสอนที่สำคัญ คือ เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) และบทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) แบบเส้นตรงได้สำเร็จเป็นคนแรก


ET201-สรุปก่อนสอบ 2
2009-09-08 10:21:09
ET201 ครั้งที่ 3 (18/06/2552)
1.  การสื่อความหมาย (Communications) เป็นกระบวนการติดต่อหรือการถ่ายทอดข่าวสารและความคิด  ตลอดจนเจตคติ เพื่อสร้างความเข้าใจหรือการรับรู้ร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยผ่านทางสัญลักษณ์หรือวิธีการต่างๆ นั่นเอง
2.  องค์ประกอบของการสื่อความหมาย
      3.   การสื่อสาร à การรับรู้ à การเรียนรู้
4.  รูปแบบของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมายของคนและสัตว์มีหลายรูปแบบ ที่นิยมมี 3 รูปแบบ คือ
4.1     รูปแบบของการสื่อความหมายจำแนกตามลักษณะภาษา มี 2 ประเภท
- การสื่อความหมายด้วยภาษาพูด/เขียน
- การสื่อความหมายด้วยภาษาท่าทาง
4.2  รูปแบบของการสื่อความหมายจำแนกตามตำแหน่งของผู้รับและผู้ส่ง มี 2 ประเภท
- การสื่อความหมายทางตรง (Direct communication)
- การสื่อความหมายทางอ้อม (Indirect communication)
4.3 รูปแบบของการสื่อความหมายจำแนกตามความสามารถในการโต้ตอบ
- การสื่อความหมายทางเดียว (One-way communication)
- การสื่อความหมายสองทาง (Two-way communication)
5.  อุปสรรคของการสื่อความหมาย
อุปสรรค (Barrier/Obstacles) หรือ “NOISE” หมายถึงสิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่ชัดเจน ทั้งในส่วนของผู้ส่งและผู้รับ
6.  อุปสรรคของการส่งและการรับสารมี 2 ประเภทใหญ่ 2 คือ
6.1 อุปสรรคทางกายภาพ หมายถึง อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ทำให้การรับรู้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งครอบคลุมวิธีการส่งสารและประเภทของสื่อ
6.2 อุปสรรคทางจิตภาพ หมายถึง สภาวะทางอารมณ์ ความรู้ ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของผู้ส่งและผู้รับ
7. ชแรมม์ (Wilbur Schramm) ได้กล่าวถึงเงื่อนไขทีมีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร 7 ประการ คือ
7.1     การเคลื่อนไหวที่มีการวางแผนมาก่อน (A planned dynamic)
7.2     ความเหมาะสมกับวัฒนธรรม (A fit to the culture)
7.3     การส่งข่าวสาร (Delivering the message)
7.4     การใช้การสื่อความหมายแบบ 2 ทาง (Two-way communication)
7.5     การทำซ้ำ ความน่าเชื่อถือ และความสนใจ (Repetition, credibility and attention)
7.6     การสาธิต (Demonstration)
7.7     การฝึกปฏิบัติ (Practice)
8. องค์ประกอบที่ส่งเสริมประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมายจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ส่งสารมีสภาพการณ์ดังต่อไปนี้
8.1   ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ต่อหน้ากัน ทำให้ทราบผลการกระทำทันที การส่งมีความถี่สูง คือ ส่งสารบ่อยๆ หรือส่งสารหลายๆ ทาง ครั้งละไม่มากนัก
8.2    สารหรือเรื่องราวที่ส่งมีผลในทางบวกแก่ผู้รับ เช่น เป็นเรื่องที่ผู้รับได้ประโยชน์หรือรู้สึกภาคภูมิใจ หรืออยากจะทำ
8.3    ระดับความรู้ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่แตกต่างกันมาก ทั้งนี้ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีพื้นประสบการณ์เดิมร่วมกันมาก
8.4    ทักษะในการสื่อความหมาย หากผู้ส่งสารเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อความหมาย เช่น เป็นนักพูด นักเขียน มีความสามารถในการวาดรูปหรือแสดง ย่อมทำให้ผู้รับสารเข้าใจง่ายขึ้น
9.   การสื่อความหมายในการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เปรียบเทียบได้กับองค์ประกอบของการสื่อความหมาย
10.  ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่ ถ้ามีความเข้าใจสิ่งที่เรียนก็จะทำให้รู้สึกสนุกในการเรียนและเรียนรู้เรื่อง ถ้าไม่เข้าใจก็จะทำให้ไม่รู้เรื่องในการเรียนและเกิดความเบื่อหน่ายได้
11.  ผลย้อนกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนมีการตอบสนองโดยแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกิริยาใดๆ ไปยังผู้สอน การรวบรวมผลป้อนกลับของผู้เรียนจัดว่าเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สอน เพราะเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องนำมาวิเคราะห์ว่าการสอนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อสามารถปรับปรุงการสอนของตนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
12.  แบบจำลองของเบอร์โล (Berlo’s model)
12.1 ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส"(encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
12.2  ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
12.3 ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
12.4 ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล   ตามลักษณะของ S M C R Model นี้ มีปัจจัยสำคัญที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและผู้รับที่จะทำให้การสื่อความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่
                        1.ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
                        2. ทัศนคติ (Attitudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีทัศนคติที่ดีต่อกันก็จะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งละผู้รับด้วย
                        3. ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้ที่เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องมีการปรับความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในด้านของความยากง่ายของภาษาและถ้อยคำสำนวนที่ใช้
                        4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในชาตินั้น ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกันไป
13.  แบบจำลองของใครมี NOISE ?
   ตอบ แบบจำลองของแชนนอน และวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s model)
14. แบบจำลองของแชนนอล และวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s model)
แชนนันและวีเวอร์ ได้คิดรูปแบบจำลองการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่ง ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับโดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัวถ่ายทอดในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่าง ๆ กัน แล้วแต่ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณนั้นแล้ว สัญญาณที่ได้รับจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเครื่องรับหรือการรับ เพื่อทำการแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับมาจะไปถึงจุดหมายปลายทางคือผู้รับตามที่ต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเหตุทำให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจจะผิดเพี้ยนไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกันอันจะทำให้เกิดการแปลความหมายผิดหรือความเข้าใจผิดในการสื่อสารกันได้

ET201-สรุปก่อนสอบ 3
2009-09-08 10:28:43
ET201 ครั้งที่ 4 (25/06/2552)
1.   การสื่อสารในปัจจุบันเป็นยุค 3G หรือ Third Generation  เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต
2.  ระบบ (System) หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ฯลฯ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของตนเอง แล้วมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างมีระเบียบ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันเพื่อให้สามารถดำเนินงานบรรลุได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
3.   ระบบการศึกษา (Educational System) เป็นระบบใหญ่ซึ่งประกอบด้วย ระบบหลักสูตร ระบบการรียนการสอน ระบบการบริหาร ระบบการวัดผล ฯลฯ
4.   องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ
5.   การเรียนการสอนแบบสื่อความหมายทางเดียว
6.   การเรียนการสอนแบบสื่อความหมายสองทาง
7.   ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลี (Gerlach  and  Ely  Model)
            เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ  10 อย่างด้วยกันคือ
1.  การกำหนดวัตถุประสงค์  เป็นจุดเริ่มต้นของระบบการเรียนการสอน  วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์เฉพาะที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้  ครูสามารถวัดและสังเกตได้
2.  การกำหนดเนื้อหา  เป็นการเลือกเนื้อหาเพื่อนำมาช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3.  การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น  เป็นขั้นตอนของการศึกษาข้อมูลของผู้เรียนว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ได้หรือไม่  ทั้งนี้จะได้เริ่มต้นสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
4.  การกำหนดกลยุทธ์การสอน  ยุทธศาสตร์การสอนที่เกอร์ลาช และอีลี เสนอไว้มี 2 แบบ คือ
      4.1  การสอนแบบป้อน  เป็นการสอนที่ครูจะเป็นผู้ป้อนความรู้ต่าง ๆ ทั้งหมดให้กับผู้เรียน
      4.2  การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  เป็นการสอนที่ครูจะมีบทบาทเป็นเพียงแต่ผู้เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้  และจัดสภาพการณ์การเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
5.   การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน  เป็นการจัดกลุ่มเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน  วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  จะทำให้เราสามารถจัดกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
6.  การกำหนดเวลาเรียน  จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์  เนื้อหา  สถานที่  การบริการ  และความสามารถ  ตลอดจนความสนใจของผู้เรียน
7.  การจัดสถานที่เรียน  ห้องเรียนปกติโดยทั่วไปจะมีผู้เรียนประมาณ 30–40 คน  ซึ่งนับว่าเหมาะสมกับการสอนแบบบรรยาย  แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับการสอนที่ใช้ยุทธศาสตร์แบบอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ห้องเรียนควรจะมีหลายขนาด
8.  การเลือกวัสดุการสอนที่เหมาะสม  ครูควรจะรู้จักเลือกสื่อและแหล่งวิทยาการที่เหมาะสม  เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนกับยุทธศาสตร์การสอนที่ต่างกัน
9.  การประเมินผลพฤติกรรม  เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้เรียนได้รับความรู้  หรือมีความเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
10. การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ  เป็นการพิจารณาเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ภาพแสดงระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีลี
8.   ระบบการจัดการเรียนการสอนของเคมพ์ (Kemp)  
เคมพ์ ได้เสนอองค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนการสอน 10 องค์ประกอบ ดังนี้
1. วิเคราะห์ความต้องการทางการเรียน (Learning Needs) กำหนดเป้าหมายการเรียน  จัดลำดับความต้องการและความจำเป็น
2. กำหนดหัวข้อเรื่องหรือภารกิจ (Topics or Job Tasks) และจุดมุ่งหมายทั่วไป (General Purposes)
3. ศึกษาลักษณะของผู้เรียน (Learner Characteristics)
4. วิเคราะห์เนื้อหาวิชาและภารกิจ (Subject Content Task Analysis) 
5. กำหนดจุดประสงค์การเรียน (Learning Objective)
6. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน (Teaching/Learning Activities)
7. กำหนดแหล่งทรัพยากรการเรียนการสอน (Instructional Resources)
8. จัดบริการสิ่งสนับสนุน (Support Services)
9. ประเมินผลการเรียน/ประเมินผลโปรแกรมการเรียน (Learning Evaluation)
10.  ทดสอบก่อนเรียน (Pretest)

ภาพแสดงระบบการเรียนการสอนของเคมพ์

9.  ระบบการเรียนการสอน เหมือนกับสิ่งใด
    ตอบ ระบบการสื่อสาร หรือ SMCR
10.   จุดประสงค์หลักที่เน้นในการเรียนการสอน คืออะไร
        ตอบ การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน โดยผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

ET201-สรุปก่อนสอบ 4
2009-09-08 10:31:27
ET201 ครั้งที่ 8 (30/07/2552)
1.  ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศแรกที่ส่งดาวเทียมไปโคจรในอวกาศ โดยให้ชื่อดาวเทียมว่า สปุตนิก 1 (Sputnik 1)”
2.  ระบบสำรองของดาวเทียม คือระบบเครือข่ายใยแก้วนำแสง (fiber optic) 
3.  ระบบดาวเทียม (Satellite systems) ใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ ใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่เป็นตัวสะท้อนสัญญาณจากสถานีควบคุมวงโคจร ข้อเสียที่สำคัญคือจะมี เวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทำให้ฝ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง
4.   ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
5.  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และสถานีควบคุมดาวเทียมธีออส อยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
6.  จานรับสัญญาณดาวเทียมจะต้องหันหน้าจาน (หันหัว) ไปทางทิศใด
         ตอบ ทิศตะวันตก
7.    ดิจิตอล (Digital) หมายถึงสัญญาณหรือรหัสที่เป็นค่าของประจุไฟฟ้า ที่แสดงผลของปริมาณชนิดและ ลักษณะของแสง บันทึกไว้เป็นตัวเลข เรียกว่า " เลขฐานสอง " ( Digit Binary ) คือเลข 0 และเลข 1
โดย 1” แทน ระบบเปิด และ 0” แทน ระบบปิด
8. ถ้าสถานะของระบบกระแสไฟฟ้าเป็นระบบปิด หลอดไฟที่อยู่ในระบบนี้จะอยู่ในสถานะใด
         ตอบ หลอดไฟจะติดไฟ (หลอดไฟส่องแสงสว่าง)
9.  พื้นที่บริการของดาวเทียม " ไทยคม"
ดาวเทียมไทยคมสามารถส่งคลื่นความถี่ครอบคลุมประเทศต่างๆเพื่อให้บริการ ดังนี้
         9.1 ย่านความถี่ C-Band มีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศไทยทั้งหมดและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียงจันทร์ ฮานอย พนมเปญ สิงค์โปร์ โฮจิมินห์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในแถบเอเชียตะวันออก เช่น ปีกกิ่ง โตเกียว ไทเป โซล เป็นต้น
         9.2  ย่านความถี่ Ku-Band มีพื้นที่บริการครอบคลุมเฉพาะประเทศไทยและในภูมิภาคใกล้เคียงเฉพาะเขตภูมิภาคอินโดจีน
10.  ดาวเทียมมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี
11.  ประเภทของดาวเทียมแบ่งได้เป็น
         11.1  ดาวเทียมสื่อสาร                     
         11.2  ดาวเทียมสำรวจ         
         11.3  ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ
         11.4  ดาวเทียมทางการทหาร          
         11.5 ดาวเทียมดานวิทยาศาสตร์
12.  สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)  อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานใด
         ตอบ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา  ถนนศรีอยุธยา  เขตราชเทวี  กรุงเทพมหานคร
13.  สถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี
14.  สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อยู่ในระบบใด
         ตอบ อยู่ในระบบส่งตรงถึงบ้าน (Direct-to-home Broadcasting หรือ DTH) หรือในทางธุรกิจเรียกโทรทัศน์ระบบนี้ว่า ระบบดิจิตอล (Digital Satellite Television หรือ Dstv)
15.  ปัจจุบันประเทศไทยใช้สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจากดาวเทียมดวงใด
         ตอบ ดาวเทียม IPSTAR
16.  ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้ในประเทศไทยทุกวันนี้ เป็นดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรแบบใด
         ตอบ ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า (GEO Synchronous หรือ GEO Stationary Orbit: GEO)
17.     ลักษณะที่สำคัญของวงโคจรค้างฟ้า ก็คือระนาบวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก (แลททิจูด 0 องศา) ทำให้ผู้สังเกตจากพื้นโลกเห็นดาวเทียมดังกล่าวอยู่กับที่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมเทียบกับความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกมีค่าใกล้เคียงกันมาก ทำให้ดูเสมือนว่าดาวเทียมอยู่กับที่ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อวงโคจรแบบนี้ว่า วงโคจรค้างฟ้าหรือ “geo-stationary orbit” ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งที่สำคัญของวงโคจรค้างฟ้าก็คือเป็นวงโคจรที่มีวงโคจรเดียว ไม่เหมือนกับกรณีของวงโคจรจีโอซิงโครนัส ซึ่งมีได้มากกว่าหนึ่งวงโคจร


18.     อะไรเป็นพาหะของคลื่นสัญญาณ
         ตอบ อากาศ


ET201 ครั้งที่ 9 (06/08/2552)
1.  คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับข้อมูลหรือสารสนเทศ เก็บหรือบันทึก ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้
Data  à  Information
2.  คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education :CBE)
         คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในทางการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการเรียนการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาทางการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการศึกษายังเพิ่มความสามารถในการสอนของครูอาจารย์หรือผู้สอนมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาจึงมีความหมายคลอบคลุมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในวงการด้านการศึกษาทั้งหมด
3.  คอมพิวเตอร์การเรียนการสอน ( Computer-Based Instruction: CBI )
         จากการขยายตัวของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสาร สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งความสะดวก ความรวดเร็วและความง่าย ครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้จัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนจึงนำเครื่องที่มีศักยภาพดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในลักษณะมีปฎิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับชุดคำสั่งที่ครูได้จัดขึ้นอย่างดีแล้ว ดังนั้นการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการเรียนการสอนและสามารถปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับชุดบทเรียนในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
         3.1 คอมพิวเตอร์จัดการสอน ( Computer-Managed Instruction : CMI )
         3.2 คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน ( Computer-Aided or Assisted Instruction : CAI )
4. การเรียนการสอนโดยนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการสอนมีลักษณะที่มักนิยมสร้างอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
         4.1 ลักษณะเส้นตรง (Linear Program)
บทเรียนที่สร้างลักษณะเส้นตรงจะมีแนวการสร้างที่มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้
         1) เป็นบทเรียนที่ตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีการเรียนรู้และการเสริมแรง (Based on a Theory of Learning and Reinforcement) ซึ่งจะเน้นในความต่อเนื่องที่ สัมพันธ์กันระหว่างขั้น (Step) ต่างๆ
         2) เป็นบทเรียนให้การตอบสนองโดยกำหนดไว้ให้ (A Constructed Type of Response)
         3) เป็นการเรียนจากบทเรียนที่เรียนตรงอย่างต่อเนื่อง (Straight Path) ซึ่งผู้เรียนจะต้องติดตามทุกขั้นตอน หรือ ทุกเฟรม (Frames)
4.2 ลักษณะสาขา (Branching Program)
         บทเรียนที่สร้างลักษณะสาขาจะมีแนวการสร้างที่มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้
         1) บทเรียนที่นำเสนอต่อผู้เรียน จะต้องมีความสัมพันธ์ของขั้นตอนกว้าง ๆ เพราะการเรียนกับบทเรียนในลักษณะนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีของการเรียนรู้และทฤษฎีของการเสริมแรงโดยตรง
         2) บทเรียนมักนิยมให้การตอบเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple-Choice Response)  และจะมีแบบของการสนองตอบอื่นๆ ปนอยู่บ้าง
         3) เป็นบทเรียนที่มีลักษณะสับลำดับ ซึ่งเป็นที่นิยมในการสร้างทั่วไป โดยจัดให้มีการเรียงลำดับข้อความย่อย ซึ่งอาศัยคำตอบของผู้เรียนเป็นเกณฑ์ ถ้าผู้เรียนตอบคำถามของบทเรียนไม่ถูกต้องจะถูกสั่งให้ข้อความย่อยต่าง ๆ แต่ถ้าผู้เรียนตอบถูกสามารถเรียนต่อหรือข้ามบทเรียนได้ ดังนั้นผู้เรียนอาจจะต้องย้อนกลับไปกลับมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวผู้เรียนเอง
5.  รูปแบบการออกแบบบทเรียนให้ตอบสนองต่อผู้เรียน ได้แก่
         5.1 การสอน (Tutorial Instruction)
         เป็นบทเรียนในการใช้สอนขั้นพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนที่เสนอบทเรียนในรูปแบบบทเรียนลักษณะสาขา ซึ่งสามารถใช้สอนได้ทุกสาขาวิชา บทเรียนในการสอนจะเสนอข้อมูลเป็นเนื้อหาย่อยๆ ต่อผู้เรียนในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือทั้งหมดรวมกันเพื่อให้ผู้เรียนตอบคำถาม ซึ่งผู้เรียนจะสามารถทราบผลย้อนกลับทันทีในการตอบนั้นถูกหรือผิด คำสั่งของบทเรียนจะให้โอกาสผู้เรียนได้ตอบใหม่ ถ้าตอบถูก คำสั่งของบทเรียนจะให้ผู้เรียนดำเนินการเรียนในบทเรียนต่อไป แต่ถ้าหากยังตอบผิดอยู่อีก คราวนี้คำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์จะจัดการเองโดยจะเสนอเนื้อหาเพื่อทบทวนให้ผู้เรียนได้เรียนใหม่จนกว่าผู้เรียนนั้นจะตอบคำถามได้ถูกต้องแล้ว จึงให้ผู้เรียนได้เรียนในบทเรียนใหม่ต่อไป ดังนั้น บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนในลักษณะนี้จะเป็นบทเรียนที่เหมาะสมในการเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพื่อการเรียนรู้ทางด้านกฎเกณฑ์หรือทางด้านวิธีการแก้ปัญหา
         5.2 การฝึกหัด (Drills and Practice)
         บทเรียนนี้จะเป็นข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่มีการนำเสนอเนื้อหาให้ความรู้ต่อผู้เรียนก่อนโดยจะให้คำถามหรือปัญหาที่คุดเลือกมาจากการออกแบบมาโดยเฉพะ การเสนอคำถามหรือเนื้อหาแบบซ้ำๆ เพื่อให้ผู้เรียนตอบแล้วมีคำตอบถูกต้องเพื่อการตรวจสอนยืนยันหรือแก้ไข และ พร้อมให้คำถามหรือปัญหาให้ผู้เรียนตอบต่อไปอีก จนกว่าผู้เรียนจะสามารถตอบคำถามหรือปัญหานั้นจนถึงระดับที่น่าพอใจ
         การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกหัด ผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องมีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นอย่างดีมาก่อน จึงจะสามารถตอบคำถามหรือแก้ปัญหาได้ โปรแกรมบทเรียนในการฝึกหัดนี้สามารถนำมาใช้ได้ในหลายๆ สาขาวิชา เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาภูมิศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
         5.3 สถานการณ์จำลอง (Simulation)
         ในรูปแบบของสถานการณ์จำลองนั้น เป็นวิธีการจัดกิจกรรมที่ใกล้เคียงกันกับความเป็นจริงมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัส หรือ พบเห็นสถานการณ์ที่มีส่วนคล้ายของสถานการณ์จริง เพื่อเป็นการเรียนรู้หรือฝึกทักษะได้โดยไม่ต้องเสี่ยงภัย หรือ เสียงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายมากนัก รูปแบบของข้อมูล หรือ ชุดคำสั่งของบทเรียนสถานการณ์จำลองจะประกอบด้วยการเสนอความรู้ข้อมูล การแนะนำเกี่ยวกับความรู้และทักษะ การฝึกปฎิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญ และ ความคล่องแคล่ว ในบทเรียนอาจจะแยกเป็นส่วน ๆ หรือ รวมทั้งหมดก็ได้ หรืออาจจะเป็นบทเรียนย่อยแทรกอยู่ เช่น โปรแกรมสาธิต (Demonstration) เป็นต้น
         5.4 เกมเพื่อการสอน (Instruction Game)
         เป็นการนำบทเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนมาประยุกต์ให้ผู้เรียนในเชิงของเกม เนื่องจากเกมเป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้ง่ายเกมยังช่วยเพิ่มบรรยากาศให้การเรียนรู้ของผู้เรียนดีขึ้น เกิดการแข่งขันภายในตัวผู้เรียนเอง ซึ่งยังให้ผลผู้เรียนมีความตื่นตัวอยู่เสมอ รูปแบบของบทเรียนในลักษณะเกมเพื่อการสอนจะคล้ายคลึงกับลักษณะบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง แต่จะแตกต่างกันที่การเพิ่มบทบาทของมีผู้แข่งขันเข้าไป ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ของกฎเกณฑ์ แบบแผนของระบบ กระบวนการ ทัศนคติตลอดจนทักษะต่าง ๆ เป็นต้น
         5.5 การค้นพบ (Discovery)
         การเรียนด้วยลักษณะการค้นพบ เป็นวิธีการที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เรียนเองมากที่สุด โดยข้อมูลหรือชุดคำสั่งบทเรียนในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนแก้ไข ซึ่งผู้เรียนจะแก้ปัญหาในลักษณะลองผิดลองถูก ในการออกแบบจะใช้วิธีการจัดระบบเข้ามาช่วย ในข้อมูลหรือชุดคำสั่งของบทเรียนในเครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นพบ จนได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด
         5.6 การแก้ปัญหา (Problem-Solving)
         คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา จะเป็นเครื่องช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงทักษะในการแก้ปัญหา โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้ามา เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณข้อมูลนั้น และจัดการสิ่งที่ยุ่งยาก หรือ ซับซ้อน ลักษณะของคอมพิวเตอร์นี้จะเป็นข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่ผู้สอนได้เขียนไว้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหา เป็นการได้ฝึกในด้านการคิด ด้านการตัดสินใจ
         5.7 การทดสอบ ( Tests )
         คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้การเรียนการสอน เป็นการใช้ในการวัดความรู้ของผู้เรียนเพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของบทเรียน การสอน แบบทดสอบตัวเอง และ ยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกที่เป็นอิสระจากการผูกมัดทางด้านกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการทดสอบอีกด้วย นอกจากนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังจะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงการทดสอบจากระบบเก่าที่มีลักษณะปรนัย หรือ คำถามจากบทเรียน มาเป็นการทดสอบที่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้เรียน ซึ่งสร้างขั้นให้เกิดความน่าสนใจมากกว่าที่จะกระตุ้น ท้าทาย ทำให้ผู้เรียนหรือผู้ที่รับการทดสอบ จะนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการตอบอย่างเต็มที่
6. บทเรียนที่สร้างลักษณะเส้นตรง (Linear Program) มีรูปแบบการออกแบบบทเรียนในลักษณะใด
         ตอบ มีรูปแบบการออกแบบบทเรียนในลักษณะการสอน (Tutorial Instruction)
7.  CAI  กับพฤติกรรมของการเรียน ได้แก่
         7.1 แรงจูงใจ             7.2   ความรับผิดชอบ              7.3 การมีส่วนร่วม
8.  on web  à  WBI (Web Based Instruction)
9. Computer Assisted Instruction (CAI) หรือ Computer Based Training (CBT) แตกต่างจาก
         e-Learning เนื่องจาก CAI และ CBT เป็นการเก็บสื่อการสอนและแบบฝึกหัดอยู่ในรูปแบบของแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดี ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนทีมี่ โดยไม่มีการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน CAI หรือ CBT โดยทั่วไปถูกใช้เป็นการเรียนเสริมการสอนในระบบปกติ
         10. e-Learning มีลักษณะคล้ายกับ Web Based Learning (WBI) คือมีการรับเนื้อหาการเรียนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนกันแต่ e-Learning มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ระบบ ติดตามการใช้งานและการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งใน Web Based Learning ไม่มีการจดจำผู้เข้าเรียน เป็นเพียงการนำเสนอเนื้อหาผ่านทาง Web Browser เท่านั้น

         11. CAI ต่างจาก WBI ในเรื่องใดเป็นสำคัญ
         ตอบ  เรื่องการสื่อสาร เพราะWBI ทำงานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถทำการสื่อสารภายใต้ระบบ Multi-user ได้อย่างไร้พรมแดน โดยผู้เรียนสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Education Data) อย่างไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ และผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ และผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมการเรียนตลอดจนผลการเรียนของผู้เรียนได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น